โรงพยาบาลธนบุรี

ศูนย์มะเร็ง

ศูนย์มะเร็ง รพ.ธนบุรี ให้บริการตรวจรักษาโรคมะเร็งโดยทีมแพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา(Medical Oncologist) และแพทย์เฉพาะทางรังสีรักษา(Radiation Oncologist) สำหรับการรักษามะเร็งโดยใช้ยานั้น ปัจจุบันแบ่งยาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 

1. ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม(Chemotherapy)

ตัวยาจะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วผิดปกติ ได้แก่ เซลล์มะเร็ง รวมไปถึงเซลล์ของร่างกายที่แบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์เม็ดเลือด เส้นผม ลำไส้ ฯลฯ
•ข้อดี ของยาเคมีบำบัด คือ มีการใช้มาอย่างยาวนาน ทำให้มียาหลากหลายชนิด ทั้งยาชนิดฉีดและยารับประทาน สามารถใช้รักษามะเร็งได้เกือบทุกชนิด และรักษามะเร็งได้ทุกระยะ ทั้งระยะต้นและระยะแพร่กระจาย
•ข้อจำกัด ของยาเคมีบำบัด อาจมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเยอะกว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่น ทำให้เกิดความกังวลและไม่สุขสบายแก่ผู้ป่วย

 

2. ยามุ่งเป้า(Targeted Therapy)

เป็นการรักษาที่มีความจำเพาะ สำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มียีนกลายพันธุ์เฉพาะจุดที่ตรงกับยามุ่งเป้า
•ข้อดี ของยามุ่งเป้า ประสิทธิภาพดีกว่า หรือเทียบเคียงกับยาเคมีบำบัด แต่ผลข้างเคียงจากการรักษาจะน้อยกว่า และไม่รุนแรง
•ข้อจำกัด ของยามุ่งเป้า เนื่องจากการรักษาค่อนข้างจำเพาะ ยาบางชนิดจำเป็นต้องตรวจหายีนกลายพันธุ์ที่เป็นเป้ารับยา ทำให้สามารถใช้ยารักษามะเร็งได้เพียงบางชนิด และส่วนใหญ่มีใช้ในการรักษามะเร็งระยะแพร่กระจาย

 

3. ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือยากระตุ้นภูมิ(Immunotherapy)

เป็นยากลุ่มใหม่ล่าสุด โดยตัวยาจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้เม็ดเลือดขาวมีความสามารถในการฆ่าเซลล์มะเร็ง
•ข้อดี ของยากระตุ้นภูมิ สามารถใช้มะเร็งได้หลายชนิด โดยใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้เป็นยาผสมควบคู่กับยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ผลข้างเคียงจากการรักษาน้อย
•ข้อจำกัด ของยากระตุ้นภูมิ ยามีราคาสูง ออกฤทธิ์ช้า ส่วนใหญ่ใช้รักษามะเร็งระยะแพร่กระจาย

 

ทั้งนี้การรักษามะเร็งที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของโรค ระยะที่เป็น และปัจจัยของคนไข้ (อายุ โรคประจำตัว ปัญหาสุขภาพอื่นๆ) ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทีมแพทย์ ทีมบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง ร่วมรักษาในแบบองค์รวม เพื่อที่จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ได้ผลการรักษาได้ผลดี และเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญสาขาพิเศษ

  • นพ.ธนพัฒน์ อิงคกุล
    การศึกษา
    • แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เกียรตินิยมอันดับ 1) ปี พ.ศ.2552
    • วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ.2558
    • อายุรศาสตร์ มะเร็งวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ.2560
    นพ.ไพโรจน์ สินลารัตน์
    การศึกษา
    • Doctor of Medicine (MD.) Mahidol University
    • American Board of Internal Medicine
    • American Board of Medical Oncology and Hematology,USA (1985)
    พญ.จารุวรรณ เอกวัลลภ
    การศึกษา
    • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยม อันดับ 1), 2534
    • Diplomate, American Board of Internal Medicine Saint Vincent Hospital, Worcester MA., U.S.A., 2539
    • Fellowship in Medical Oncology, Vincent T. Lombardi Cancer Research Center, Georgetown University Medical Center, Washington, DC. USA., 2541
    • อนุมัติบัตร สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป และ อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา, 2543
    นพ.นพดล โสภารัตนาไพศาล
    การศึกษา
    • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537
    • วุฒิบัตร สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2543
    • Fellowship วุฒิบัตร สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2545
    พญ.ภานุช เอี่ยมประภาพร
    การศึกษา
    • แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2556
    • วุฒิบัตรสาขาอายุรศาสตร์ ปี พ.ศ.2559
    • อนุมัติบัตร อายุรศาสตร์โรคมะเร็ง ปี พ.ศ.2562
    นพ.ไพรัช เทพมงคล
    การศึกษา
    • Doctor of Medicine (MD.) Mahidol University 1963
    • Certificate as Diplomate in Medical Clinic Mahidol University 1965
    • Certificiate of Proficiency in Radiation Theraphy Thai Medical Council 1971
    • R.C.P., R.C.S., DMRT London, UK 1969