วัณโรคปอด (TB/Tuberculosid , tubercle bacillus)
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ไมโครแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacteriaum tuberculosis) สามารถก่อให้เกิดโรคได้กับทุกอวัยวะทุกส่วนของร่างกายและสามารถทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน ติดต่อโดยการหายใจ ไอ จาม หากร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกำเริบก่อให้เกิดโรคได้
หากมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่าย หรือเย็น เหงื่อออกตอนกลางวัน มีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ หรือ ไอมีเสมหะปนเลือด ควรไปพบแพทย์
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด คือ
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัด หรือ ผู้ป่วยเอดส์
- ผู้ติดสารเสพติด หรือ แอลกอฮอล์
- คนจรจัด หรือ คนขาดสารอาหาร
- คนที่อาศัยอยู่ในที่แออัด หรือ สถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
- ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล หรือ ญาติที่ดูแล
- เด็กทารก หรือ ผู้สูงอายุ
การตรวจรักษา
แพทย์จะทำการวินิจฉัย ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกเรย์ปอด เก็บเสมหะตรวจเพาะเชื้อ หากวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด โดยทั่วไปจะนิยมให้ยา INH, Rifampicin, Pyrazinamide และ Ethambutal ขึ้นอยู่กับความเห็นแพทย์ว่าจะให้สูตรใด ในบางราย อาจให้อาจให้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย
วิธีป้องกัน
คนทั่วไป
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายสม่ำเสมอและทานอาหารที่มีประโยชน์
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแสดงอาการ เพราะอาจได้รับเชื้อได้
- รับประทานยาป้องกันตามแพทย์สั่ง ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง
- ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การได้รับวัคซีนป้องกันวั ตั้งแต่เด็กจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้
ผู้ป่วย
อาการของโรคแบ่งได้เป็น 2 ระยะ แต่ละระยะมีวิธีป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปยังผู้อื่นในลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
- ผู้ป่วยระยะแฝง เป็นระยะเริ่มต้นที่ไม่เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นแต่ต้องดูแลตัวเองด้วยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อควบคุมไม่ให้อาการเข้าสู่ระยะแสดงอาการ
- ผู้ป่วยระยะแสดงอาการ เป็นระยะที่แพร่เชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ควรบ้วนน้ำลาย หรือเสมหะทิ้งในภาขนะที่สามารถปิดปากภาชนะ และเผาทิ้งได้ ควรอยู่แต่ในบ้าน หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก พักอาศัยในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรนอนร่วมห้องกับผู้อื่นในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ที่มีอาการ สวมหน้ากากอนามัย และปิดปากเวลาไอหรือจาม
>M
บทความที่เกี่ยวข้อง