เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบบริเวณทางเดินอาหาร แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- Crohn’s disease
มีการอักเสบได้ทุกส่วนของทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้อง น้ำหนักลด ซีด
- Ulcerative Colitis ลำไส้ใหญ่อักเสบ
มีการอักเสบเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่ มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและ ถ่ายเป็นเลือด
สาเหตุ
สาเหตุการเกิดยังไม่ชัดเจน คาดว่าส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม อีกส่วนก็คือ คล้ายๆ ภูมิต้านทานในร่างกายผิดปกติ อาจจะรุนแรงเกินไปแล้วไปทำร้ายตัวเองมากไปด้วย และจะมีส่วนของเรื่องแบคทีเรียในลำไส้
การวินิจฉัย
เบื้องต้น แพทย์จะสอบถามกี่ยวกับอาการของโรค สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย และประวัติการรักษา รวมทั้งอาจตรวจร่างกายว่ามีอาการอย่างอื่นร่วมหรือไม่ ทั้งนี้ แพทย์ต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการแยกโรค
- การตรวจเลือด วิธีนี้จะตรวจประเมินภาวะโลหิตจางและการอักเสบ โดยผลตรวจเลือดจะแสดงว่าผู้ป่วยมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ แต่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR) ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าผู้ป่วยเกิดอาการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย
- การตรวจตัวอย่างอุจจาระ แพทย์จะเก็บตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วยเพื่อตรวจการติดเชื้อ โดยแยกการติดเชื้อและปรสิตออกจากกัน เนื่องจากทั้ง 2 อย่างนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่มีอาการคล้ายโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง แพทย์จะวินิจฉัยลำไส้อักเสบโดยดูเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในอุจจาระ
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) วิธีนี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบได้แม่นยำและเห็นลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยได้ชัดเจน โดยแพทย์จะสอดท่อขนาดเล็กซึ่งมีกล้องติดอยู่เข้าไปทางลำไส้ตรงเพื่อดูภายในลำไส้ ทั้งนี้ระหว่างการตรวจ แพทย์จะให้ยาระงับประสาทหรือยาแก้ปวดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและทำการวินิจฉัยได้อย่างละเอียด
- การเอกซเรย์ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคอย่างรุนแรง แพทย์อาจเอกซ์เรย์บริเวณท้องของผู้ป่วย เพื่อดูว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือไม่
- การสวนแป้งแบเรียม (Barium Enema) วิธีนี้นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ โดยการสวนแป้งแบเรียมนี้จะนำสารทึบรังสีเข้าไปทางลำไส้ตรง ฉีดที่ลำไส้ และสะท้อนภาพภายในลำไส้ออกมาผ่านภาพเอกซเรย์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังมีความแม่นยำน้อยกว่าการตรวจด้วยการส่องกล้องในลำไส้ใหญ่
- การทำซีทีสแกน แพทย์จะทำซีทีสแกนผู้ป่วยหากสันนิษฐานว่าผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังหรืออาการอักเสบที่ลำไส้เล็ก โดยแพทย์จะสแกนบริเวณท้องหรือเชิงกรานของผู้ป่วย ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะแสดงว่าผู้ป่วยเกิดอาการอักเสบที่ลำไส้มากน้อยแค่ไหน
- การตัดชิ้นเนื้อตรวจ แพทย์จะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อของลำไส้ที่ได้มาจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้ง 2 แบบออกมาตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
การรักษา
มีอยู่ 4 กลุ่มทางเลือกด้วยกัน คือ
- การใช้ยา
- การจัดการด้านอาหาร
- การดูแลให้คำแนะนำ การประคับประคองทางอารมณ์
- การผ่าตัด
เป้าหมายหลักที่สำคัญของการรักษาคือการบรรเทาอาการของโรค (เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง การเสียเลือดทางอุจจาระ) อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น (เช่น ฝี ฝีคัณฑสูตร) และป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้ สิ่งสำคัญ คือ การงดสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่งดสูบบุหรี่ได้จะทำให้การเกิดกลับเป็นซ้ำของโรคลดลงร้อยละ 60 ภายในช่วงเวลา 2 ปี
อาหารไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิด IBD แต่มีส่วนทำให้อาการของโรคแย่ลงขณะที่มีอาการกำเริบ เป้าหมายของภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วย IBD จึงอยู่ที่การจัดการแบบแผนการบริโภคอาหารเพื่อลดอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ในขณะเดียวกันก็รักษาระดับสารอาหารที่จำเป็นเอาไว้ แพทย์จะประเมินสภาวะทางโภชนาการเพื่อดูว่าผู้ป่วยได้รับปริมาณพลังงาน วิตามิน และเกลือแร่เพียงพอหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทอาหารเหลว เป็นต้น
M
แนะนำโปรแกรมตรวจ ———————————————————————————
แพ็กเกจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร