ก่อนอื่นเรามาทราบถึงปัจจัยของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง
- การสูบบุหรี่
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- ความอ้วน
- เบาหวาน
ขั้นตอนการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกาย
- มีการออกกำลังกายเพื่ออุ่นเครื่อง (warm up) และก่อนหยุดออกกำลังกายควรลดความรุนแรงของการออกกำลังกายลง (cool down)
- เริ่มจากวิธีการออกกำลังกายที่เบาก่อน เช่นเดินในทางราบ ต่อไปจึงเดินทางชันหรือขึ้นบันได
- ไม่ควรออกกำลังกายขณะอากาศร้อน หรือ หลังกินอาหารภายใน 1 ชั่วโมง
- ควรมียาขยายหลอดเลือดติดตัวขณะออกกำลังกาย
- ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจหรือทำผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไปในระยะ 6 สัปดาห์แรก โดยดูจากชีพจรไม่ควรเกิน 120 ครั้งต่อนาที
- ในการประกอบกิจวัตรประจำวัน แนะนำให้ทำกิจกรรมเบา-หนักปานกลาง
- กรณีมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่หนักเกินกว่าความสามารถของร่างกาย เช่นการเดินขึ้นบันไดแนะนำให้เดินใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที แล้วหยุดพักอย่างน้อย 30 วินาที หรือจนหายเหนื่อยแล้วเดินต่อ
- ผู้ป่วยเบาหวานควรทานอาหารว่างประมาณ 30-60 นาทีก่อนออกกำลังกาย และควรมีอาหารหรือน้ำหวานติดตัวขณะออกกำลังกาย
เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีความสำคัญในผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างไร
• การออกกำลังกายเป็นการเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
• ช่วยชี้แนะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตให้เหมาะสม เพื่อลดอัตราเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ และอัตราเสี่ยงของปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
• ให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงภาวะของตนเองอย่างถูกต้อง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้เหมาะสมกับสภาวะนั้นๆ
ศูนย์หัวใจ
โรงพยาบาลธนบุรี
แนะนำโปรโมชั่น
แพ็คเกจตรวจสุขภาพหัวใจ