โรงพยาบาลธนบุรี

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

ผู้เขียน

นพ.ศิรวิชญ์ สุวิทยะศิริ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางด้านกระดูกและข้อ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

เมื่อพบเจอกับอาการ ปวดคอ ตึงคอ ปวดศีรษะ ร้าวลงแขน ชา อ่อนแรง หรือมีปัญหาในการทรงตัวร่วมด้วย    หากท่านหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยว่าใช่โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทหรือไม่

 

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาด ทำให้ส่วนของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกภายในรั่วไหลออกมา และกดทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง  ซึ่งอาจจะเกิดร่วมกับภาวะโพรงเส้นประสาทคอตีบแคบ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดคอ มีอาการชา ปวดร้าวลงแขน อ่อนแรงแขนขา หรืออาจพบได้ว่าสูญเสียการทรงตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการกดทับ

 

สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องด้วยอายุมากขึ้นทำให้หมอนรองกระดูกคอของเราจะเริ่มเสื่อมสภาพทำให้แตกหรือฉีกขาดได้ง่ายขึ้น สาเหตุอื่นๆได้แก่ มีการบาดเจ็บที่คอจากอุบัติเหตุรถยนต์ /พันธุกรรม /โรคอ้วน /รวมถึงการทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้คอซ้ำๆ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการก้ม หรืออยู่หน้าจอและผิดท่าเป็นเวลานานๆ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและสอบถามประวัติอาการ และสั่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำ X-ray หรือ MRI เพื่อดูภาพกระดูกคอ เส้นประสาท ไขสันหลัง ดูความรุนแรงของการกดทับภายในโพรงประสาทกระดูกต้นคอ รวมถึงดูสภาวะความเสื่อมของข้อกระดูกต้นคอร่วมด้วยโดยละเอียด

 

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ อาจเริ่มต้นด้วย

  • กินยา
  • กายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

 

 

อย่างไรก็ตาม หากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว ยังไม่ดีขึ้น อาการปวดรุนแรงรบกวนชีวิตประจำวัน หรือเริ่มอ่อนแรง แพทย์อาจจะพิจารณาถึงความจำเป็นในการให้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

 

 

สำหรับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ปัจจุบันที่ศูนย์กระดูกและข้อ ของ รพ.ธนบุรี นำมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการรักษาให้กับผู้ป่วยก็คือ การผ่าตัดแบบส่องกล้องกระดูกสันหลังชนิดเอนโดสโคป(Endoscopic Spine Surgery)  ซึ่งมีข้อดีเพิ่มเติมจากการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ ได้แก่.-

  • เวลาในการพักฟื้นสั้นลง
  • กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น กลับไปทำงานได้เร็วขึ้น
  • ขนาดแผลเล็กลง รอยแผลเป็นเล็กลง
  • การสูญเสียเลือดน้อยลงมาก หรือแทบไม่สูญเสียเลยขณะผ่าตัด
  • ลดโอกาสการติดเชื้อภายหลังผ่าตัด
  • ความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดลดน้อยลง 

 

หากท่านมีอาการดังกล่าว สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยว่าใช่โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทหรือไม่ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง การรักษาเร็วสามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

 

ขอรับคำปรึกษาหรือนัดหมายพบแพทย์เฉพาะทางกระดูกสันหลัง
ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.ธนบุรี
โทร. 02-487-2000 ต่อ 7470-2