การฉีดวัคซีน เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ด้วยเชื้อโรคที่อ่อนแรง หรือ บางส่วนของเชื้อโรคที่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้
เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว อาจมีอาการข้างเคียงบางอย่าง เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อวัคซีน ซึ่งโดยทั่วไป จะมีอาการไม่มาก และจะหายไปเอง
- ถ้าท่านมีประวัติแพ้ยา หรือไข้ ให้แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
- การให้วัคซีน อาจมีอาการที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ เช่น มีไข้ เจ็บ ปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ฉีด คล้ายกับการฉีดยาอื่น ๆ บางรายอาจมีอาการแพ้ เช่น เป็นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกได้ (พบได้น้อย) ซึ่งต้องมาพบแพทย์ทันที
- กรณีเกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ถ้าอาการมาก อาจทานยาแก้ปวด และใช้ผ้าชุบน้าเย็นประคบ
- กรณีเกิดตุ่มหนองหลังฉีดวัคซีน บี ซี จี การดูแลให้ใช้สำลีสะอาด ชุบน้ำต้มสุกเช็ด ห้ามบ่งหนอง
- กรณีมีไข้ ไม่สบายตัว เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก อาจรับประทานยาแก้ปวด ลดไข้ได้ ทั้งหลังฉีด หรือรับประทานป้องกันไว้ ก่อนฉีดยาในครั้งต่อ ๆ มา
- เกิดอาการมีไข้ ไอ มีน้ำมูก มีผื่น อาจพบหลังฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ประมาณ 1 สัปดาห์
- กรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด หรือไอ สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ถ้ากำลังมีไข้สูง ควรเลื่อนการฉีด จนกว่าจะหายไข้ กรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรเลื่อนการฉีดไปจนกว่าจะหายดี
- ในหญิงตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์
(ยกเว้น วัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า)
- ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ควรคุมกาเนิด อย่างน้อย 1 เดือน หลังฉีควัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน, วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส, วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ, วัคซีนวัณโรค (BCG), วัคซีน ไข้ไทฟอยด์ชนิดกิน
- กรณีวัคซีนที่ต้องฉีดหลายเข็ม หากมีความจำเป็น อาจเลื่อนวันฉีดที่นัดไว้ได้ ยกเว้น วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไม่ควรเลื่อน
- โดยทั่วไป ภูมิคุ้มกันจะสร้างขึ้นถึงระดับป้องกันโรคได้ หลังจากฉีด 15 วัน
บทความที่เกี่ยวข้อง